ภารกิจพิเศษ
วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
บทที่1
สรุปเนื้อหานิทานพื้นบ้านเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
นิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ที่ถูกเล่าสืบต่อกันมามีดังนี้
หนุ่มชาวนาชื่อทอง (บางแห่งก็ไม่กล่าวถึงชื่อ) ทองออกไปทำนาตั้งแต่เช้าจนสาย
แต่แม่ก็ยังไม่มาส่งข้าวสักที ทองหิวข้าวจนตาลายด้วยอารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำการมาตุฆาตมารดา
ด้วยสาเหตุเพียงแค่ว่า ก่องข้าวที่แม่เอามาส่งนั้นดูเหมือนจะน้อยไป ไม่น่าจะพอกิน
แต่เมื่อทองกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดทองจึงได้สติสำนึกผิดที่ฆ่าแม่ตนเอง
จึงสร้างธาตุก่องข้าวน้อยขึ้นมา เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำ
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่บ้านตาดทอง
ยโสธรในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำข้าว ทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพาะปลูก
ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน
ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน วันหนึ่งเขาไถนาอยู่จนสาย
ตะวันสูงขึ้นแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน
ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งข้าวกล่องให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้าผิดปกติ
เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้า
สายตาเหม่อมองไปทางบ้าน รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา
ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจยิ่งสายตะวันขึ้นสูงแดดยิ่งร้อน
ความหิวกระหายก็ยิ่งทวีคูณขึ้น ทันใดนั้นเขามองเห็นแม่เดินเลียบตามคันนาพร้อมกล่องข้าวน้อยๆ
ห้อยต่องแต่งอยู่บนเสาแหรกคาน เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอากล่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก
ด้วยความหิวกระหายจนตาลายอารมณ์พลุ่งพล่าน
เขาคิดว่าข้าวในกล่องน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มแน่ จึงเอ่ยต่อว่าแม่ของตนว่า “อีแก่ ไปทำอะไรอยู่จึงมาส่งข้าวให้กูช้านัก
ก่องข้าวก็เอามาแต่ก่องน้อยๆ กูจะกินอิ่มหรือ“ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า
“ถึงก่องข้าวจะน้อยก็น้อยต้อนแต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย…ลองกินเบิ่งก่อน”
ความหิว
ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใดๆ เกิดความโมโหหิว
คว้าไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลง แล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้ว
แต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการแม่
และเข้าสวมกอดแม่…อนิจจา
แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว!!
ชายหนุ่มร้องไห้โฮ
สำนึกผิดที่ฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั่ววูบ ไม่รู้จะทำประการใดดี
จึงเข้ากราบ นมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด สมภารสอนว่า “การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก
เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก
มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้
ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้”
เมื่อชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว
ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านมาช่วยกันปั้นอิฐก่อนเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ไว้
จึงให้ชื่อว่า “ธาตุก่องข้างน้อยฆ่าแม่”
ตราบจนทุกวันนี้
ที่มาและความสำคัญ
ธาตุก่องข้าวน้อย
หรือที่นิยมเรียกกันว่า พระธาตุก่องข้าวน้อย หรือ พระธาตุวัดทุ่งสะเดา
เป็นเจดีย์เก่าแก่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่ วัดทุ่งสะเดา บ้านสะเดา ตำบลตาดทอง
อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี)
กิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1
กิโลเมตร
ธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน
รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว
องค์ธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร
ช่วงกลางขององค์ธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน
ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน
ส่วนยอดรอบนอกของธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5
เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังองค์ธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ
นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้า (เมษายน)
จะมีการประเพณีสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 23-25 (สมัยอยุธยาตอนปลาย)
ประวัติของการสร้างธาตุแห่งนี้แตกต่างไปจากธาตุอื่น ๆ
ที่มักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยเป็นนิทานพื้นบ้านเล่าว่า มีชายหนุ่มชาวนา
(บ้างว่าชื่อ ทอง) ที่ได้ทำนาทั้งชีวิต วันหนึ่งเขาออกไปไถนา
ในเวลาเที่ยงเขาเหนื่อยล้า รู้สึกเกิดอาการร้อนรนและหิวโซ
มารดาของหนุ่มชาวนามาส่งข้าว แต่มาช้ากว่าเวลาปกติ
ชายหนุ่มเห็นว่าก่องข้าวที่มารดาถือมาให้นั้นก่องเล็กมาก เขาโกรธมารดามาก จึงทำร้ายมารดาด้วยความโมโหหิว
เอาคันไถนาฟาดไปที่มารดา จนมารดาล้มและเสียชีวิต
หลังจากนั้นเขากินข้าวที่มารดานำมาให้ แต่ก็กินเท่าไรข้าวก่องน้อยนั้นก็ไม่หมดก่อง
ลูกชายเริ่มได้สติ หันมาเห็นมารดานอนเสียชีวิตบนพื้น
จึงรู้สึกเสียใจมากที่ได้ทำผิดไป จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้นมาด้วยมือเพื่อชดใช้บาปกรรม
1. ที่มา : หนังสือสถาบันลือธรรม
2. ผู้เรียบเรียง
: อาจารย์ กฤษณะ
สุริยกานต์
3. เอกสารอ้างอิง : ดนุพล
ไชยสินธุ์ .วรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน.มหาสารคาม:2526
กัลยา คุณทะวงษ์. วรรณกรรมพื้นบ้าน. นครราชสีมา:วิทยาลัยครูนครราชสีมา,2521.(อัดสำเนา)
หมายเหตุ
เรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งในสมัยใด
เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในหลายร้อยปีที่แล้วและยังมีการสร้างธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ให้ผู้คนไปเที่ยวชมกราบไหว้
วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าาแม่คงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมานานแล้วดังปรากฏในรูปแบบต่างๆ
เช่นหมอลำ เพลง แหล่ การ์ตูน ละคร ภาพยนต์ ฯลฯ
บทที่2
วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
1. วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
ตั้งตามชื่อข้าวของเครื่องใช้และตัวละครในเรื่อง
ที่ลูกชายได้ไถนาจนหิวข้าวหนักจนตาลาย
เกิดอารมณ์โมโหหิวด่าแม่ว่าทำไมเอาข้าวมาส่งก่องข้าวน้อยอย่างนี้
คิดว่าตัวเองจะกินข้าวไม่อิ่ม จึงใช้แอกไถนา ทุบตีแม่ตัวเองจนสิ้นใจ จึงได้ชื่อเรื่องว่า
ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
2. แก่นเรื่อง
ความโกรธจนขาดสติยั้งคิด
ทำให้เกิดการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่
3. โครงเรื่อง
การเปิดเรื่อง
เปิดเรื่องด้วยคติสอนใจ
ให้เห็นว่าความโกรธโมโหจำนำไปสู่ความสูญเสียเราควรควบคุมสติ อารมณ์ตัวเองให้ดีในการที่จะทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งอย่าให้ความโกรธเข้ามาครอบงำในจิตใจเราได้
การดำเนินเรื่อง
-
มีครอบครัวชาวนาอยู่ครอบครัวหนึ่งอยู้ด้วยกันสองแม่ลูก
- ถึงฤดูทำนาลูกชายไปไถนาเป็นประจำ
- แม่จะหุงหาอาหารทำกับข้าวไปส่ง
- วันหนึ่งลูกชายได้ไปไถนาแต่เช้าตรู่
- แม่ก็ทำอาหารเช่นเดิม
แต่วันนั้นเป็นวันพระ แม่จึงจัดอาหารไปวัดก่อน
-หลังจากทำบุญที่วัดเสร็จแม่ก็นำอาหารไปส่งลูก
ซึ่งกว่าจะถึงนาก็เป็นเวลาสายมากแล้ว
- ลูกชายทำงานหนัก
จึงเกิดอารมณ์โมโหหิวอย่างรุนแรง
-
ลูกชายไถนาไปทั้งบ่นด่าแม่ตัวเองว่าไม่เอาข้าวมาส่งสักที
- เมื่อแม่มาถึง
ก็ร้องเรียกลูกมากินข้าว พลางจัดอาหาร
- ลูกชายโมโหหิว จึงปลดแอก
วิ่งเข้ามาหาแม่
- กระหน่ำฟาดแอกลงบนศรีษะแม่
- ลูกชายพูดว่า มึงไม่เห็นใจกู ก่องข้าวน้อย
กูกินไม่อิ่มหรอก
- กินไปสักพักเขาก็รู้สึกอิ่ม
แล้วเหลือบไปดูก่องข้าว ปรากฏว่าข้าวยังเหลืออยู่
-
ครั้นความโกรธผ่อนคลายลง จึงหวนคิดถึงแม่ แต่แม่ได้สิ้นลมหายใจไปเสียแล้ว
-
ลูกชายรู้สึกผิดว่าเป็นบาปนักจึงเข้ามอบตัว และขอบวชเป็นพระภิกษุ
อุทิศส่วนกุศลให้แม่
- ท่านเจ้าเมืองเห็นว่าเป็นพระที่ดี
จึงเลื่อมใสศรัทธาถวายไม้กวาดลานวัดที่ทำด้วยด้ามทองคำ
-
สมัยก่อนชาวอีสานเรียกไม้กวาดลานวัดว่า ตาด และด้ามไม้กวาดเป็นทองคำ
จึงได้ชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านตาดทอง
การจบเรื่อง
จบด้วยการบอกถึงว่าลูกชายที่เป็นพระได้สร้างเจดีย์ขึ้น ที่เรียกว่า
พระธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
4.ตัวละครในเรื่อง
1.ลูกชายชื่อทอง
เป็นชายหนุ่มที่กำพร้าพ่อ มีลักษณะนิสัยขี้โมโห
นิสัยวู่วามเอาแต่ใจตนเอง
2.แม่ของทอง
ไม่ปรากฎชื่อ มีลักษณะนิสัย
เป็นห่วงเป็นใยลูก รักลูกมาก
3.เจ้าทุย
เป็นควายที่ทองใช้ไถนา
5.การใช้ภาษา
นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยห่าแม่
เป็นการแต่งขึ้นโดยการใช้ภาษาถิ่นอีสานของ จังหวัดยโสธร
และหนังสือบางเล่มอาจจะใช้ภาษาไทยกลาง แต่งเป็นร้อยแก้วร้อยกรอง
ใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจง่ายใช้
ถ้อยคำภาษาเรียบเรียงไว้อย่างสละสลวยบรรยายเนื้อหาได้ดี และมีการดำเนินเรื่องดี ในเรื่องกล่าวถึงลักษณะนิสัยตัวละคร การสนทนา
นอกจากสำนวนภาษาที่จัดว่าดีเยี่ยมเหมาะแก่นักอ่านทั่วไป
และนำไปประยุกต์เป็นละครการ์ตูน ละครเวที หนังสือเรียน หมอลำ
6.ฉาก/สถานที่
ฉากหลัก
1.ดำเนินเรื่องอยู่กลางทุ่งนาเพราะลูกชายชื่อทองได้ออกไปไถนาและฆ่าแม่ตายกลางทุ่งนา
บทที่3ความโดดเด่น
เรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
มีความโดดเด่นด้านการดำเนินเรื่องและสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์กลางทุ่งนาเพราะตัวละครที่เป็นลูกชายที่ชื่อทองได้ไปไถนาที่ทุ่งนาแล้วหิวข้าวจนโกรธโมโหร้าย
เห็นแม่เอาก่องข้าวน้อยมาจึง ได้ฆ่าแม่เพราะคิดว่าตัวเองจะกินข้าวไม่อิ่ม
บทที่4 การนำไปประยุกต์ใช้
ปัจจุบันนิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายดังปรากฎในหลายรูปแบบ ได้แก่
-หมอลำเรื่องต่อกลอน
เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ คณะ เพชรอุบล
-เพลงลูกทุ่ง เพลง : ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ศิลปิน : ศิริพร
อำไพพงษ์ อัลบั้ม : ฝากไว้ในแผ่นดิน
เพลง
กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ - ศิลปิน พรศักดิ์ ส่องแสง - ชุด พ่อหม้ายใจมาร
-เพลงแหล่ เทศน์แหล่แบบอีสาน
-บทสวดสรภัญญะ ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่สรภัญอิสาน
-VCD ลำเรื่อง คณะ
เฉลิมพล มาลาคำ เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ วีซีดี 3 แผ่นจบ
-ภาพยนต์ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
พ.ศ.2523 กำกับโดย พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา
-การ์ตูนแอนิเมชั่น
นิทานพื้นบ้านเรื่องกล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ เป็นผลงานของนักศึกษา รายวิชานวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
-ภาพจิตรกรรม
-หนังตะลุง
- ลิเกของภาคกลาง
-ละครซอภาคเหนือ ซึ่งล้วนมีการนำเอาโครงเรื่องนิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่มาสร้างสรรค์ดัดแปลงเป็นข้อมูลทางวัฒนธรรมของไทยมาจนถึงทุกวันนี้
อินโฟกราฟฟิค(Infogeaphic)
นางสาวนิตยา กลางนา ปี3 หมู่1 รหัสนักศึกษา 57210406102
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น